ฝันร้าย สัญญาณร่างกายกับปัญหาสุขภาพ

“ฝันร้าย” โดยทั่วไปแล้ว เด็กอายุก่อน 10 ปีมักจะเริ่มฝันร้าย โดยเด็กผู้หญิงมีแนวโน้มฝันร้ายมากกว่าเด็กผู้ชาย อย่างไรก็ตาม การฝันร้ายไม่นับว่าเป็นอันตรายในกรณีที่ไม่ได้ส่งผลต่อการนอนหลับหรือพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ ส่วนฝันร้ายในผู้ใหญ่อาจเกิดฝันร้ายได้ในกรณีที่เกิดความเครียด วิตกกังวล หรือหวาดกลัวสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอย่างมาก รวมทั้งอาจเป็นหนึ่งในอาการของปัญหาสุขภาพจิตต่าง ๆ ฝันร้ายอาจกลายเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพได้

ลักษณะฝันร้ายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นอาการป่วยนั้นมีลักษณะ ดังนี้

  • รู้สึกตื่นตัวและมักตื่นขึ้นมาอยู่เสมอ
  • จะจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุการณ์ในฝันได้อย่างชัดเจน มักฝันถึงซ้ำๆ รวมทั้งมักฝันถึง  เหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกหวาดกลัวเป็นอย่างมาก โดยในฝันนั้นมักเกี่ยวกับการเอาตัวรอด และความปลอดภัย หรือความมั่นคงของชีวิต
  • มักรู้สึกไม่มีความสุขในการใช้ชีวิต ทำกิจกรรม หรือสังสรรค์เข้าสังคม
  • ฝันร้ายบ่อยทั้งที่ไม่ได้ใช้ยารักษาโรคหรือสารเสพติดที่ก่อให้เกิดอาการดังกล่าวได้

แล้วฝันร้ายเกิดขึ้นได้อย่างไร?

ฝันร้ายมักจะเกิดขึ้นในช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement: REM) ช่วงหลับฝันจะเริ่มขึ้นเมื่อเกิดการส่งสัญญาณจากส่วนก้านสมองไปยัง    สมองส่วนธาลามัส เพื่อถ่ายทอดสัญญาณดังกล่าวไปยังชั้นสมองส่วนนอก ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ กระบวนการคิด และการจัดการข้อมูล

ขณะที่เซลล์สมองส่งสัญญาณนั้น ร่างกายของเราจะหยุดการทำงานของเซลล์ประสาทตรงไขสันหลัง ส่งผลให้กล้ามเนื้อแขนขาขยับไม่ได้ชั่วขณะ หากบางสิ่งเข้ามากระทบกระบวนการนี้ ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบโต้ออกมานอกฝัน เช่น ผู้ที่ฝันว่าเล่นกีฬาอยู่อาจวิ่งไปที่เก้าอี้หรืออาจตีคนที่นอนอยู่ข้าง ๆ หากในฝันกำลังแข่งขันกับคู่ต่อสู้ แต่อาการตอบโต้มักเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก

ฝันร้ายส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร?

ฝันร้ายเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตอนนอนหลับ ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและการใช้ชีวิตได้หลายประการ ผู้ที่ฝันร้ายเรื้อรังอาจทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

วิธีป้องกันภาวะฝันร้าย

จัดสภาพแวดล้อมที่ดี เราควรจัดห้องนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสำหรับการพักผ่อน
ออกกำลังกาย ผู้ที่ฝันร้ายจากอาการวิตกกังวลหรือความเครียดควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยบรรเทาภาวะฝันร้าย

สร้างสุขลักษณะการนอน การสร้างสุขลักษณะที่ดีในการนอนหลับจะช่วยให้ไม่หลับฝันร้าย เราควรเริ่มเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาอย่างสม่ำเสมอ และไม่ควรงีบหลับระหว่างวันในกรณีที่ไม่ได้ป่วยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งนี้ ไม่ควรรับประทานอาหารหรือออกกำลังกายตอนช่วงใกล้เข้านอน

เลี่ยงสารกระตุ้น ควรบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนในปริมาณจำกัด เนื่องจากสารกระตุ้นทั้งสองอย่างอาจตกค้างอยู่ในร่างกายนานกว่า 12 ชั่วโมง ส่งผลให้รบกวนการนอนได้

วิธีจัดการภาวะฝันร้าย

เข้ารับการรักษาปัญหาสุขภาพ โรคเกี่ยวกับการนอนหลับบางโรคส่งผลให้เกิดฝันร้ายได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือกลุ่มอาการขาอยู่ไม่สุข ผู้ป่วยโรคนี้ควรเข้ารับการรักษาอาการป่วยให้หาย เพื่อแก้ไขปัญหาฝันร้ายอันเป็นผลมาจากโรคเหล่านี้

บำบัดด้วยจินตนาการ วิธีบำบัดด้วยจินตนาการ (Imagery Rehearsal Treatment) คือวิธีบำบัดความคิดและพฤติกรรมสำหรับผู้ที่ฝันร้ายซ้ำ ๆ หรือฝันร้ายจากการภาวะเครียดหลังเกิดเหตุสะเทือนขวัญ โดยช่วยให้ผู้ป่วยฝึกเปลี่ยนความคิดที่มีต่อภาพความฝันที่ปรากฏขึ้นมา

เพิ่มการนอนหลับสบาย ไร้ปัญหาสุขภาพ ควรเลือกเตียง APP เตียงปรับระดับที่ออกแบบมาให้ปรับได้ได้ตามสรีระ
ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์