ปกติแล้วคนเราควรนอนพักผ่อนประมาณ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เด็กเล็กที่อายุระหว่าง 1-2 ปี ควรนอนอย่างน้อย 11 ชั่วโมงต่อวัน เด็กอายุระหว่าง 3-5 ปี ควรได้นอนหลับ 10 ชั่วโมง เด็กอายุระหว่าง 6-12 ปี ควรนอนหลับ 9 ชั่วโมง วัยรุ่นอายุ 13-18 ปี ควรมีเวลาการนอนหลับที่ 8 ชั่วโมง และวัยรุ่นที่อายุระหว่าง 18 ปีขึ้นไป ควรมีเวลานอนอย่างน้อย 7 ชั่วโมงขึ้นไป ซึ่งสามารถบวกลบเวลาการนอนได้ 1 ชั่วโมง แต่ถ้าหากคุณมีอาการนอนไม่หลับ หรือนอนหลับไม่สนิทตลอดคืน หลับๆ ตื่นๆ จนทำให้เช้าวันต่อมาไม่สดใสก็อาจเข้าข่ายภาวะ Insomnia นอนไม่หลับ หรือหลับแบบไม่มีคุณภาพ ที่มักจะได้ยินคนวัยเก๋าอย่างคุณปู่คุณย่าบ่นให้ฟังอยู่บ่อยๆ
สำหรับสาเหตุของการนอนไม่หลับของแต่ละบุคคล จะเป็นอะไรบ้างเราต้องมาดู
- เคยมีปัญหาการนอนไม่หลับมาก่อน
- มีประวัติคนในครอบครัวมีปัญหาการนอนไม่หลับ
- เป็นคนหลับตื้น จึงถูกกระตุ้นให้ตื่นได้ง่าย
- อายุ ซึ่งอายุที่มากขึ้นจะส่งผลให้นอนไม่หลับได้มากขึ้น
- เพศหญิง โดยเฉพาะช่วงใกล้หมดประจำเดือนหรือ Menopause
- มีโรคประจำตัว เช่น หัวใจล้มเหลว ปอดเรื้อรัง
- มีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับเมื่อมีความเครียดอยู่เสมอๆ
- ใช้ชีวิตอยู่คนเดียวจะนอนไม่หลับง่ายกว่า
ควรทำอย่างไรถึงจะสร้างสุขลักษณะการนอนที่ดี (Sleep Hygiene)
- พยายามนอนและตื่นเป็นเวลา และไม่ฝืนการนอนถ้าหากไม่รู้สึกง่วง
- นอนเท่าที่ร่างกายต้องการ แต่ไม่นานเกินไป ตื่นแล้วให้รีบลุกจากเตียง
- ออกกำลังกายสม่ำเสมออย่างน้อย 20 วันละนาที แต่ควรออกกำลังกายก่อนถึงเวลานอน 4-5 ชั่วโมง
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเย็นถึงค่ำ
- หลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีนหลังเที่ยง และแอลกอฮอล์ตั้งแต่ช่วงบ่ายถึงค่ำ
- ขึ้นนอนบนเตียงเมื่อง่วง ไม่ฝืนการนอนถ้าไม่ง่วง
- ลดการดูจอภาพในเวลาก่อนนอน เช่น จอคอมพิวเตอร์ จอโทรศัพท์ จอโทรทัศน์
- ไม่อนุญาตให้มีการงีบในช่วงกลางวัน (โดยเฉพาะช่วงบ่ายถึงเย็น)
- พยายามขจัดความเครียดและความกังวลให้หมดไปก่อนจะเข้านอน
- หลีกเลี่ยงการงีบในช่วงกลางวันที่นานกว่า 20-30 นาที
ผลเสียของการนอนไม่พอแบบสะสมเรื้อรัง
- คุณภาพชีวิตต่ำลง เช่น ทำกิจกรรมที่ชอบน้อยลงเนื่องจากรู้สึกไม่มีแรง รวมถึงการเรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง หลับในห้องเรียนหรือที่ทำงาน อาจ ส่งผลให้สอบตกหรือการเรียนแย่ลง หรือถูกเจ้านายตำหนิ อาจส่งผลให้ไม่ได้เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง ถูกตัดเงินเดือนหรือให้ออกจากงาน
- เกิดอุบัติเหตุทางถนน อาจเกิดความผิดพลาดในที่ทำงาน เช่น หลับขณะประชุม ทำเอกสารผิดพลาด อารมณ์เสียง่าย เป็นต้น รวมถึงความรู้สึกอิดโรย อ่อนล้า สับสน เครียด วิตกกังวล ยิ่งหากมีภาวะเครียดเป็นพื้นฐานด้วยอยู่แล้ว เมื่อสะสมมากๆ เข้าอาจทำให้เข้าสู่อาการซึมเศร้าได้
- โรคหลอดเลือดหัวใจ ผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมง มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจเพิ่มขึ้น 23% เมื่อได้เทียบกับผู้ที่นอน 7 ชั่วโมงต่อวัน เนื่องจากผู้ที่นอนน้อยกว่า 6 ชั่วโมงต่อคืนจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อการอ้วนลงพุง มีน้ำตาลในเลือดสูง มีความดันเลือดสูง
- ภูมิต้านทานโรคต่ำลง อาจทำให้ติดเชื้อง่ายขึ้น เช่น ทำให้ภูมิต้านทานหลังการฉีดวัคซีน ไข้หวัดใหญ่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น เป็นหวัดง่ายขึ้น เป็นต้น หรือบางคนมักจะเป็นแผลในปากในช่วงที่นอนไม่พอ
- เสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นและเป็นโรคอ้วน
- อาจทำให้ไตทำงานลดลง อาจมีความสัมพันธ์กับการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุเพิ่มขึ้น (Increase all-cause mortality) และแก่เร็ว ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคไตจึงควรหาวิธีพักผ่อนให้พอเพียง
- ทำให้แก่เร็วก่อนวัยอันควร
เมื่อคิดว่าตัวเองมีภาวะนอนไม่หลับควรพิจารณาก่อนว่ามีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้อง และค่อยๆ เริ่มปรับพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมการนอนไปพร้อมๆ แก้ไขโรคหรือปัญหาที่เป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ หากทีอาการยังไม่ดีขึ้นแพทย์จะเลือกใช้ยาเป็นวิธีสุดท้าย เลือกใช้ยาเหมาะสม หลีกเลี่ยงการใช้ยาทุกวัน และหลีกเลี่ยงการใช้ยาระยะยาว
จุดเริ่มต้นของการดูแลสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจให้สดชื่นแข็งแรงคือการเริ่มที่ตัวเองนะคะ เลือกเตียงปรับระดับสำหรับการพักผ่อน เลือก APP นะคะ
เตียงปรับระดับที่ออกแบบมาให้ปรับได้ได้ตามสรีระ
ทดลองสินค้า หรือแวะชมได้ที่ :โชว์รูม บ.เอพีพี บอร์ด ใกล้ BTS สุรศักดิ์